โครงสร้างการบริหารงาน
ประวัติความเป็นมาคณะบริหารธุรกิจ
        คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ ได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้คณะวิทยาการจัดการ ซึ่งได้ทำการเปิดสอนใน 3 หลักสูตร 3 โปรแกรมวิชา ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป (ปริญญาตรี 2 ปี) หลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) และหลักสูตรอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ โดยดำเนินการเปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 ภาคการศึกษาที่ 1 โดยดำเนินการเรียนการสอนในภาคปกติ ต่อมาในภาคการศึกษาที่ 2 ในปีการศึกษาเดียวกันนี้ ได้เปิดรับนักศึกษาภาคการศึกษาเพื่อปวงชน โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งแรกที่วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชัยภูมิ (เดิม) ในปี พ.ศ. 2545 คณะวิทยาการวิชาชีพ ได้เปลี่ยนเป็นคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นสถาบันราชภัฏชัยภูมิ โดยในขณะนั้นได้ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจแขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แขนงวิชาการบัญชี แขนงวิชาการตลาด เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยคณะบริหารธุรกิจดำเนินการแยกตัวออกจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยได้การอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ปัจจุบันหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ประกอบด้วย (1) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการจัดการ (2) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกธุรกิจดิจิทัล (3) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการเงิน (4) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าสมัยใหม่ ปัจจุบันมีบุคลากรทั้งหมด 31 คน บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 24 คน พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำนวน 5 คน
โลโก้
ประกอบด้วย
        เรือสำเภา หมายถึง สัญลักษ์ทางด้านกากรค้า การพาณิชย์ ที่เป็นสากล แทนด้วย คณะบริหารธุรกิจ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ ในสาขาวิชาต่างๆ
        วงกลม หมายถึง ดวงอาทิตย์ แทนค่าด้วย แสงสว่างและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงบัณฑิตบริหารธุรกิจ ที่มุ่งมั่นนำความรู้และวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกพวงชุมพู หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสมานสามัคคีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และประชาชน ในท้องถิ่นที่ทุกๆ คน ของคณะบริหารธุรกิจที่จะเป็นผู้นำทาง ด้านวิชาการให้แทรกซึมไปยังท้องถิ่นสืบไป ประดุจดั่งเขาพวงชมพู สีประจำคณะ
สีประจำคณะบริหารธุรกิจ คือ สีชมพู แทนความรักความผูกพัน ความไมตรีจิตรอันดี แสดงถึง นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า เปรียบเหมือนความรัก ความมุ่งหวัง ตั้งใจ ที่มีต่อประชาชนและท้องถิ่น ในการนำวิชาการไปถ่ายทอดและเผยแพร่ ความรู้ให้กับท้องถิ่น ใช้สร้างรายได้ และความเข็มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นสืบไป
วิสัยทัศน์
        คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิเป็นองค์กรที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจ การดำเนินงานตามพันธกิจมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา
ปรัชญา
        คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ บริหารจัดการศึกษาภายใต้หลักธรรมมาภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการวางแผน ดำเนินการตามแผน ประเมินผล และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สาธารณชนมั่นใจได้ว่าผลผลิตทางการศึกษาของคณะมีคุณภาพและมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมีนัยสำคัญ
ปณิธาน
        คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นบัณฑิตที่มีทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นมืออาชีพ
พันธกิจ
         1. การผลิตบัณฑิต
         2. การผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย
         3. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
         4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
         5. การดำเนินงานและกำกับติดตามผลลัพธ์ด้านการประกันคุณภาพ
         6. การพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีจุดเด่นตามเอกลักษณ์
ค่านิยม
         ค่านิยมเป็นสิ่งที่คณะบริหารธุรกิจให้ความสำคัญ ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเห็นชอบที่จะยึดถือเป็นบรรทัดฐานและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ค่านิยมของคณะบริหารธุรกิจมี 4 ข้อ กำหนดขึ้นตามชื่อของคณะซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ (CPBS = Chaiyaphum Business School)
         1. Creativity หมายถึง การเป็นผู้สร้างงาน การสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า และการคิดค้นนวัตกรรมทางธุรกิจ
         2. Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและชุมชนท้องถิ่น
         3. Best หมายถึง การทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ทำงานเต็มศักยภาพ และมีประสิทธิภาพ
         4. Smart หมายถึง ความเฉลียวฉลาด ประณีต และทันสมัย
เอกลักษณ์
         เอกลักษณ์ (Uniqueness) คือ เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรมีทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะบริหารธุรกิจให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
วัฒนธรรมองค์กร
         วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง บรรทัดฐาน ความเชื่อ ข้อตกลงร่วมกัน และธรรมเนียมในการปฏิบัติงานของคณะบริหารธุรกิจซึ่งยึดถือปฏิบัติร่วมกันโดยสมาชิกทุกคนของคณะบริหารธุรกิจ วัฒนธรรมการทำงานของคณะบริหารธุรกิจมี 5 องค์ประกอบ CHAMP แต่ละองค์ประกอบมีความหมายดังนี้
        1. มีความเป็นเอกภาพ (Clan) หมายถึง การมีความสามัคคี ทำงานเป็นทีมบุคาลากรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรมีความรักและภักดีต่อองค์กร มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน บุคาลากรมีสมรรถนะสูงมีคุณภาพ และมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
        2. ดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามหลักประสิทธิภาพ (Hierarchy) หมายถึง การมีระบบและกลไกการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ดำเนินงานตามโครงสร้างบริหารและขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ ร่วมมือร่วมใจกันทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นการเสียต้นทุนต่ำสุดและมีความคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการสื่อสารและประสานงานที่รวดเร็วอย่างทั่วถึง ทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องและราบรื่นโดยการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐาน นโยบาย กฎระเบียบ และกฎหมาย
        3. การสร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (Adhocracy) หมายถึง การเปิดใจรับฟังความคิดเห็น การระดมความคิดสร้างสรรค์ การมองเห็นปัญหาในเชิงบวก การแสวงหาโอกาสจากวิกฤต การใช้นวัตกรรมนำทางพันธกิจ การสร้างความแตกต่างด้วยการสร้างความเปลี่ยนแปลงและคิดค้นนวัตกรรมการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการปรับตัวและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาผลงานขององค์กร การดำเนินงานตาม พันธกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิตและชุมชนท้องถิ่น มีการจัดหาทรัพยากรที่มีคุณค่า นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประิสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
        4. ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพระดับชาติหรือนานาชาติ (Market) หมายถึง ผู้เรียน บัณฑิต งานวิจัย และผลงานทางวิชาการ มีคุณภาพในระดับชาติหรือนานาชาติ มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร ผลผลิตทางการศึกษาสารถแข่งขันได้กับบุคคลอื่นหรือองค์กรอื่น ผลผลิตทางการศึกษาได้รับรางวัลหรือได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
        5. มีความเป็นมืออาชีพ (Professionalization) หมายถึง การเป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ (Professional learning Community = PLC) มีการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ มีพฤติกรรมการทำงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ผลการปฏิบัติงานมีมาตรฐานสูง การให้บริการตามพันธกิจหลักได้รับการประเมินว่ามีคุณภาพในระดับดีหรือดีมาก
อัตลักษณ์ของนักศึกษา
         อัตลักษณ์ (Identity) เป็นพลเมืองอัจฉริยะ (Smart Citizen) : SEACIC แต่ละองค์ประกอบมีความหมายดังนี้
         1. มีระเบียบวินัย (Self-discipline) หมายถึง การเป็นคนที่มีระเบียบวินัย การปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ยอมรับการตัดสินไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ยินดีรับเอาประโยชน์ที่ไม่สมควรได้รับ และไม่ทำให้ส่วนรวมได้รับความเสียหาย
         2. มีประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) หมายถึง การมีความตั้งใจที่จะเรียนและทำงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทำงานเต็มศักยภาพ ทำงานเต็มเวลา มีความรับผิดชอบในงานปฏิบัติงานด้วยความขยัน มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทำงานอย่างเป็นระบบ มีทักษะในการทำงาน รอบคอบ ระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณ ประณีต ทำงานก่งและไว้ใจได้ มีผลงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
         3. มีจิตอาสา (Altruism) หมายถึง การมีจิตสาธารณะ การมีความสมัครใจและมีความเต็มใจในการช่วยเหลือผู้อื่นทั้งในมหาวิทยาลัย ที่ทำงาน ชุมชน และสังคม งานใดที่องค์กรไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ ถ้าเห็นว่างานนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กรก็เต็มใจทำ
         4. มีมารยาททางสังคม (Courtesy) หมายถึง การเป็นผู้มีมารยาทดีงามทั้งทางกายและวาจาการไม่เบียดเบียนคนอื่นด้วยกายหรือด้วยวาจา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สุภาพ เคารพ ให้เกียติ ไม่เป็นผู้สร้างปัญหา ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา และทำตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับบุคคลอื่น
         5. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (Inovation Capabitiy)
         6. มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Participation)


167 หมู่ 2 ถนนชัยภูมิ-ตาดโตน ตำบลนาฝาย
      อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์::  044-815-111 ต่อ 3100
โทรสาร:: 044-815-116
E-mail:: bbaaccoun59@gmail.com