คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ ได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้คณะวิทยาการจัดการ ซึ่งได้ทำการเปิดสอนใน 3 หลักสูตร 3 โปรแกรมวิชา ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป (ปริญญาตรี 2 ปี) หลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) และหลักสูตรอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ โดยดำเนินการเปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 ภาคการศึกษาที่ 1 โดยดำเนินการเรียนการสอนในภาคปกติ ต่อมาในภาคการศึกษาที่ 2 ในปีการศึกษาเดียวกันนี้ ได้เปิดรับนักศึกษาภาคการศึกษาเพื่อปวงชน โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งแรกที่วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชัยภูมิ (เดิม) ในปี พ.ศ. 2545 คณะวิทยาการวิชาชีพ ได้เปลี่ยนเป็นคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นสถาบันราชภัฏชัยภูมิ โดยในขณะนั้นได้ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจแขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แขนงวิชาการบัญชี แขนงวิชาการตลาด เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยคณะบริหารธุรกิจดำเนินการแยกตัวออกจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยได้การอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ปัจจุบันหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ประกอบด้วย (1) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการจัดการ (2) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกธุรกิจดิจิทัล (3) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการเงิน (4) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตวิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าสมัยใหม่ ปัจจุบันมีบุคลากรทั้งหมด 31 คน บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 24 คน พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำนวน 5 คน |
โลโก้
|
|
![]() |
ประกอบด้วย เรือสำเภา หมายถึง สัญลักษ์ทางด้านกากรค้า การพาณิชย์ ที่เป็นสากล แทนด้วย คณะบริหารธุรกิจ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ ในสาขาวิชาต่างๆ วงกลม หมายถึง ดวงอาทิตย์ แทนค่าด้วย แสงสว่างและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงบัณฑิตบริหารธุรกิจ ที่มุ่งมั่นนำความรู้และวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
![]() |
ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกพวงชุมพู หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสมานสามัคคีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และประชาชน ในท้องถิ่นที่ทุกๆ คน ของคณะบริหารธุรกิจที่จะเป็นผู้นำทาง ด้านวิชาการให้แทรกซึมไปยังท้องถิ่นสืบไป ประดุจดั่งเขาพวงชมพู สีประจำคณะ |
![]() |
สีประจำคณะบริหารธุรกิจ คือ สีชมพู แทนความรักความผูกพัน ความไมตรีจิตรอันดี แสดงถึง นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า เปรียบเหมือนความรัก ความมุ่งหวัง ตั้งใจ ที่มีต่อประชาชนและท้องถิ่น ในการนำวิชาการไปถ่ายทอดและเผยแพร่ ความรู้ให้กับท้องถิ่น ใช้สร้างรายได้ และความเข็มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นสืบไป |
วิสัยทัศน์
|
|
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิเป็นองค์กรที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจ การดำเนินงานตามพันธกิจมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา | |
ปรัชญา
|
|
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ บริหารจัดการศึกษาภายใต้หลักธรรมมาภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการวางแผน ดำเนินการตามแผน ประเมินผล และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สาธารณชนมั่นใจได้ว่าผลผลิตทางการศึกษาของคณะมีคุณภาพและมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมีนัยสำคัญ | |
ปณิธาน
|
|
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นบัณฑิตที่มีทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นมืออาชีพ | |
พันธกิจ
|
|
1. การผลิตบัณฑิต 2. การผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย 3. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การดำเนินงานและกำกับติดตามผลลัพธ์ด้านการประกันคุณภาพ 6. การพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีจุดเด่นตามเอกลักษณ์ |
|
ค่านิยม
|
|
ค่านิยมเป็นสิ่งที่คณะบริหารธุรกิจให้ความสำคัญ ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเห็นชอบที่จะยึดถือเป็นบรรทัดฐานและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ค่านิยมของคณะบริหารธุรกิจมี 4 ข้อ กำหนดขึ้นตามชื่อของคณะซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ (CPBS = Chaiyaphum Business School) 1. Creativity หมายถึง การเป็นผู้สร้างงาน การสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า และการคิดค้นนวัตกรรมทางธุรกิจ 2. Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและชุมชนท้องถิ่น 3. Best หมายถึง การทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ทำงานเต็มศักยภาพ และมีประสิทธิภาพ 4. Smart หมายถึง ความเฉลียวฉลาด ประณีต และทันสมัย |
|
เอกลักษณ์
|
|
เอกลักษณ์ (Uniqueness) คือ เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรมีทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะบริหารธุรกิจให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย | |
วัฒนธรรมองค์กร
|
|
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง บรรทัดฐาน ความเชื่อ ข้อตกลงร่วมกัน และธรรมเนียมในการปฏิบัติงานของคณะบริหารธุรกิจซึ่งยึดถือปฏิบัติร่วมกันโดยสมาชิกทุกคนของคณะบริหารธุรกิจ วัฒนธรรมการทำงานของคณะบริหารธุรกิจมี 5 องค์ประกอบ CHAMP แต่ละองค์ประกอบมีความหมายดังนี้ 1. มีความเป็นเอกภาพ (Clan) หมายถึง การมีความสามัคคี ทำงานเป็นทีมบุคาลากรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรมีความรักและภักดีต่อองค์กร มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน บุคาลากรมีสมรรถนะสูงมีคุณภาพ และมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. ดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามหลักประสิทธิภาพ (Hierarchy) หมายถึง การมีระบบและกลไกการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ดำเนินงานตามโครงสร้างบริหารและขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ ร่วมมือร่วมใจกันทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นการเสียต้นทุนต่ำสุดและมีความคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการสื่อสารและประสานงานที่รวดเร็วอย่างทั่วถึง ทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องและราบรื่นโดยการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐาน นโยบาย กฎระเบียบ และกฎหมาย 3. การสร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (Adhocracy) หมายถึง การเปิดใจรับฟังความคิดเห็น การระดมความคิดสร้างสรรค์ การมองเห็นปัญหาในเชิงบวก การแสวงหาโอกาสจากวิกฤต การใช้นวัตกรรมนำทางพันธกิจ การสร้างความแตกต่างด้วยการสร้างความเปลี่ยนแปลงและคิดค้นนวัตกรรมการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการปรับตัวและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาผลงานขององค์กร การดำเนินงานตาม พันธกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิตและชุมชนท้องถิ่น มีการจัดหาทรัพยากรที่มีคุณค่า นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประิสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 4. ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพระดับชาติหรือนานาชาติ (Market) หมายถึง ผู้เรียน บัณฑิต งานวิจัย และผลงานทางวิชาการ มีคุณภาพในระดับชาติหรือนานาชาติ มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร ผลผลิตทางการศึกษาสารถแข่งขันได้กับบุคคลอื่นหรือองค์กรอื่น ผลผลิตทางการศึกษาได้รับรางวัลหรือได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ 5. มีความเป็นมืออาชีพ (Professionalization) หมายถึง การเป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ (Professional learning Community = PLC) มีการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ มีพฤติกรรมการทำงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ผลการปฏิบัติงานมีมาตรฐานสูง การให้บริการตามพันธกิจหลักได้รับการประเมินว่ามีคุณภาพในระดับดีหรือดีมาก |
|
อัตลักษณ์ของนักศึกษา
|
|
อัตลักษณ์ (Identity) เป็นพลเมืองอัจฉริยะ (Smart Citizen) : SEACIC แต่ละองค์ประกอบมีความหมายดังนี้ 1. มีระเบียบวินัย (Self-discipline) หมายถึง การเป็นคนที่มีระเบียบวินัย การปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ยอมรับการตัดสินไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ยินดีรับเอาประโยชน์ที่ไม่สมควรได้รับ และไม่ทำให้ส่วนรวมได้รับความเสียหาย 2. มีประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) หมายถึง การมีความตั้งใจที่จะเรียนและทำงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทำงานเต็มศักยภาพ ทำงานเต็มเวลา มีความรับผิดชอบในงานปฏิบัติงานด้วยความขยัน มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทำงานอย่างเป็นระบบ มีทักษะในการทำงาน รอบคอบ ระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณ ประณีต ทำงานก่งและไว้ใจได้ มีผลงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. มีจิตอาสา (Altruism) หมายถึง การมีจิตสาธารณะ การมีความสมัครใจและมีความเต็มใจในการช่วยเหลือผู้อื่นทั้งในมหาวิทยาลัย ที่ทำงาน ชุมชน และสังคม งานใดที่องค์กรไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ ถ้าเห็นว่างานนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กรก็เต็มใจทำ 4. มีมารยาททางสังคม (Courtesy) หมายถึง การเป็นผู้มีมารยาทดีงามทั้งทางกายและวาจาการไม่เบียดเบียนคนอื่นด้วยกายหรือด้วยวาจา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สุภาพ เคารพ ให้เกียติ ไม่เป็นผู้สร้างปัญหา ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา และทำตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับบุคคลอื่น 5. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (Inovation Capabitiy) 6. มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Participation) |
167 หมู่ 2 ถนนชัยภูมิ-ตาดโตน ตำบลนาฝาย
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์:: 044-815-111 ต่อ 3100
โทรสาร:: 044-815-116
E-mail:: bbaaccoun59@gmail.com